แต่ทันทีที่ชื่อภาพ เสมือนไม่มี เช่น รุกขะเทวะ 1 ก็คือ ตรงข้ามกับกรณีแรก

Last updated: 15 ธ.ค. 2561  |  607 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แต่ทันทีที่ชื่อภาพ เสมือนไม่มี เช่น รุกขะเทวะ 1 ก็คือ ตรงข้ามกับกรณีแรก

หากมีโอกาสอ่านชื่อภาพในงาน นิทรรศการภาพถ่ายใดๆ 
เราจะพบว่า มีจำนวนมากที่ตั้งชื่ออย่าง เฉพาะเจาะจง ช่วยทำให้เราเข้าใจในสิ่งที ่เจ้าของผลงานต้องการสื่อออ กมา แม้อาจไม่ได้สื่อทั้งหมดที่ คิด แต่ก็ช่วยให้ผู้ชม เข้าใจในแนวหรือเส้นทางที่
ศิลปินนั้นๆคิด ทำจนออกมาจนเป็นผลงาน...

บางงานอาจเขียนชื่อ สถานที่ที่ถ่าย ช่วยให้เราทราบพื้นที่ที่เจ ้าของผลงานได้ยืนอยู่ในขณะน ั้น

มีบางงานที่อาจสร้างความงงง วยให้กับผู้ชม เพราะชื่อภาพ อาจมีเพียงหมายเลข 1 2 3 หรือ ชื่อชุด แล้วตามด้วย 1 2 3
เช่น รุกขะเทวะ 1 รุกขะเทวะ 2 รุกขะเทวะ 3 เป็นต้น หรือ หนักไปกว่านั้น มีชื่อภาพ ที่ระบุว่า ไม่มีชื่อภาพ (untitle) !

เหตุใด จึงเป็นเช่นนั้น มีเหตุผลอธิบายได้มากมาย แต่ขอแบ่งปันประสบการณ์บางส่วนในการตั้งชื่อภาพที่ผมได ้เจอ คือ 

การมีชื่อภาพ สื่อความหมาย หรือสถานที่ ตามที่พูดมาตอนต้น มีข้อดีที่เด่นสุด คือ มันช่วยทำให้ผู้ชมเข้าใจค่อ นข้างตรง หรือ ช่วยชี้ขอบเขตกรอบความคิดให ้ใกล้เคียงแนวความคิดของผู้ สร้างงานได้ดี สรุปง่ายๆ คือ มันทำให้ "ชัดเจน" ขึ้น 

แต่ทันทีที่ชื่อภาพ เสมือนไม่มี เช่น รุกขะเทวะ 1 ก็คือ ตรงข้ามกับกรณีแรก คือ มันออกไปทาง "ไม่ชัด" นั่นเอง ฟังดูคล้ายข้อเสีย 
แต่จุดเด่นหนึ่ง ของความไม่ชัด ก็คือ ผู้ชมสามารถสร้างกรอบความคิ ดของตัวเอง แล้วรู้สึกไปกับสิ่งนั่นๆเอ ง สร้างความรู้สึก ความคิด อารมณ์ขึ้น ที่ทั้งอาจเหมือนหรือแตกต่า งจากผู้สร้างผลงานได้... อาจมากกว่าหรือถึงขั้นไม่มี เลยก็ได้

ส่วนตัว เคยทำมาแล้วทั้งสองแบบ แต่ในผลงาน รุกขะเทวะ นี้ 
ผมคิดว่า เมื่อผู้ชมได้อ่านแนวคิดและ ได้ชมผลงาน...การอ่านชื่อผล งานที่ไม่ชัดเจน น่าจะเป็นข้อดีมากกว่า เพราะจะมีข้อจำกัดน้อยในการ รู้สึก คิด กระตุ้นจิตใต้สำนึกของผู้ชม .....แม้กระทั่งผมเองที่สร้ างผลงาน ดูแต่ละครั้ง ยังรู้สึกได้ต่างกันบ้าง สร้างเสน่ห์ไปอีกแบบครับ...
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้