Last updated: 14 พ.ค. 2562 | 467 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาพในอดีต...ราว ปี พ.ศ.2531 ( แค่ 30 ปีเอง )
เห็นภาพสมัยที่ตัวเองยังไม่ได้เรียนรู้เรื่องการจัดองค์ประกอบภาพจากตำราใดๆ แต่ไหงภาพนี้ ทำออกมาได้ดูดีจัง เราทำไปได้ยังไงเนี่ย ( ขอยกหางหน่อย 5555 ) ถึงขนาดอัดภาพเก็บแยกไว้เลย...ไปคุ้ยๆในกองหนังสือเจอ...
การที่เราไม่รู้ แต่บางครั้งกลับทำได้ดี ข้อดี คือ ทำให้เรารู้สึกว่า การถ่ายภาพนั้นง่าย ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มากมาย โดยมีข้อสนับสนุนว่า ก็ทำได้ดีอยู่แล้ว จะเสียเวลาเรียนไปทำไมหล่ะ ทำไปแบบนี้ ก็มีความสุขดี ง่ายด้วย...
แต่ในข้อดี ก็มีข้อเสีย เพราะเมื่อเราคิดว่าไม่จำเป็นต้องเรียนรู้แล้ว มันก็จบแต่เพียงเท่านั้น ไม่คิดไปต่อ มีโอกาสสูงที่เราจะกลายเป็นคนถ่ายภาพได้ดีได้แค่บางครั้ง ออกไปในแนว
" นานๆฟลุก"
เพราะเมื่อดูค่าเฉลี่ย ช่วงที่ตัวเองคิดว่า ถ่ายดีแล้ว จะพบว่า จำนวนภาพดี ต่อ จำนวนที่ถ่ายไป จะมีค่าเฉลี่ยต่ำมาก
เลยเป็นที่มาของคำว่า
คนที่ถ่ายภาพอย่างมีความรู้จริงและประสบการณ์พอ เขากำลังเดินไปทางแนว "ฟลุกบ่อยจนน่าอิจฉา"
แต่เมื่อถ่ายนานขึ้นอีก ก็จะพบอีกความจริงว่า
"ความรู้ เรียนไม่มีวันจบ "
8 ต.ค. 2566
8 ต.ค. 2566
8 ต.ค. 2566
8 ต.ค. 2566