Last updated: 28 พ.ค. 2561 | 352 จำนวนผู้เข้าชม |
เทคนิคและแรงบันดาลใจ สองสิ่งนี้สัมพันธ์กันลึกซึ้ง พึ่งพาอาศัยกันอย่างแยกไม่ออก
เมื่อมีแนวคิด แรงบันดาลใจ คนที่ไม่คล่องในเทคนิคก็จะถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกออกมาเป็นภาพได้ลำบากกว่าคนที่คุ้นเคยในเทคนนิคเป็นอย่างดี
เลยดูเหมือนคิดอย่าง พอทำมา กลายเป็นอีกอย่าง
แต่พอรู้และเน้นแต่เทคนิค เราก็อาจกลายเป็นคนถ่ายภาพตามเทคนิคที่ถูกสอนต่อๆกันมา
แนวทางมีแต่เส้นที่คนขีดให้ เดินตามเต็มไปหมด ครั้นจะไม่สนเทคนิคเลย
ก็กลายเป็นปัญหาเดิมเหมือนตอนต้นที่พูดมาอีก
ความยากและท้าทายคือ เราต้องรู้ เรียน ฝึกในเทคนิคจนเชี่ยวชาญมากๆ
ฝึกเดินตามทุกทาง ตามตำราที่มี จนคล่องแคล่ว
เมื่อแรงบันดาลใจมา เราจะนำทุกอย่างที่เราฝึกมา ตอบสนองได้อย่างใจนึก
มีความยากที่ซ่อนไว้ คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ที่เราทำ ทำเพราะแรงบันดาลใจนำพาไป หรือ เทคนิคที่ฝังในหัวเรา นำกันแน่
เคล็ดลับที่อยากแนะนำ ตัวผมเองก็ใช้บ่อยๆ คือ
เมื่อถ่ายภาพเสร็จกลับมา ลองกลับมาพิจารณาอย่างยุติธรรม ถามตัวเองว่า ที่เราถ่ายภาพนี้
เป็นเพราะเราอยากเห็นแค่ผลทางเทคนิคที่เราเคยรู้มาเท่า นั้นเองหรือเปล่า ...
หรือเป็นเพราะเรารู้สึก มีอารมณ์ มีความคิด นำมาก่อนแล้วค่อยหยิบฉวยเทค นิคที่เคยรู้มาตอบสนองเรา
และคนที่จะรู้ดีว่าเราทำไปเพราะอะไร ก็มีแต่เราเท่านั้น .....คนที่จะตรวจทานความคิด เราได้ดีที่สุด คือ ตัวเรานั่นเอง....
ถึงตอนนี้ ดูคล้ายว่า เทคนิคเหมือนลูกเมียน้อยหรือพระรองยังไงก็ไม่รู้
แต่ความจริงในแวดวงศิลปะตั้งแต่โบราณยันตอนนี้ เทคนิคต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ นั้น ก็มีความสำคัญมาก เพราะได้ก่อให้เกิดแนวคิด แรงบันดาลใจ แนวทางใหม่ๆมานับไม่ถ้วนเช่นกัน
จากแบบฝึกเทคนิคการใช้เลนส์ reflex ถ่ายดอกเฟื่องฟ้า ข้างถนน ณ เชียงใหม่
9 ก.ย. 2566
24 พ.ค. 2565